สารปรับปรุงดิน

ไขข้อสงสัย “ปุ๋ยเคมี” คืออะไร? อันตรายหรือไม่กับเกษตรกร?

ไขข้อสงสัย "ปุ๋ยเคมี" คืออะไร? อันตรายหรือไม่กับเกษตรกร?

การปลูกพืชให้เจริญเติบโตได้ตามต้องการ นอกจากเรื่องการปรับสภาพดินให้เหมาะสมแล้ว การดูแลพืชให้ได้รับธาตุอาหารอย่างครบถ้วนเพียงพอก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่มองข้ามไม่ได้ ดังนั้น “ปุ๋ย” จึงเป็นอีกหนึ่งส่วนสำคัญที่เกษตรกรต้องให้ความใส่ใจ แน่นอนว่าปุ๋ยก็มีหลายประเภทให้เลือกใช้งาน โดยคราวนี้เราจะมาเจาะลึกกันที่ “ปุ๋ยเคมี” ว่าคืออะไร และมีความอันตรายเหมือนที่ได้รับฟังต่อ ๆ กันมาจริงหรือไม่ เริ่มหาคำตอบไปพร้อมกันเลย

ปุ๋ยเคมีคืออะไร

ปุ๋ยเคมี คือ ปุ๋ยจากสารอนินทรีย์หรืออินทรีย์สังเคราะห์ เป็นปุ๋ยที่ใช้กระบวนการทางเคมีในการผลิต ในประเทศไทยปุ๋ยเคมีที่ถูกกฎหมายและปลอดภัยต่อการใช้งานจะต้องขึ้นทะเบียนปุ๋ยเสียก่อน ยกเว้นปุ๋ย 3 ประเภท อย่าง ปุ๋ยเคมีมาตรฐาน ปุ๋ยธาตุอาหารรองและปุ๋ยธาตุอาหารเสริม เท่านั้น ที่ไม่จำเป็นต้องขึ้นทะเบียนใด ๆ

ปุ๋ยเคมีเรียกได้ว่าเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ถ้าหากต้องการให้พืชเติบโตอย่างแข็งแรง พร้อมทั้งมีผลผลิตที่ดี เพราะภายในปุ๋ยเคมีประกอบด้วยธาตุอาหารหลักที่พืชต้องการ คือ ไนโตนเจน (N), ฟอสฟอรัส (P) และโพแทสเซียม (K) ซึ่งแต่ละสูตรก็จะมีอัตราส่วนของธาตุอาหารทั้ง 3 นี้ที่แตกต่างกันไป ทำให้เกษตรกรสามารถเลือกปุ๋ยเคมีที่เหมาะสมกับสภาพพืชในช่วงนั้น ๆ ได้ อีกทั้งยังเป็นสิ่งที่หาซื้อง่าย เมื่อปุ๋ยเคมีละลายพืชก็สามารถดูดซึมธาตุอาหารเหล่านี้ได้เป็นอย่างดี การใช้ปุ๋ยเคมีจึงสำคัญอย่างยิ่ง

ประเภทของปุ๋ยเคมีที่ควรรู้จัก

เบื้องต้นสามารถแบ่งประเภทของปุ๋ยเคมีที่เกษตรกรควรรู้จักได้ทั้งหมด 3 ประเภท คือ

  1. ปุ๋ยเคมีสูตร หมายถึง ปุ๋ยเคมีสูตร N P K โดยปุ๋ยเคมีสูตรแต่ละยี่ห้อก็จะมีอัตราส่วนของธาตุอาหารที่แตกต่างกันไป ทำให้แต่ละสูตรมีประโยชน์ไม่เหมือนกัน บางสูตรอาจเน้นในเรื่องของการเร่งผลผลิต บางสูตรอาจเน้นเรื่องส่งเสริมให้รากแข็งแรง หรือบางสูตรก็จะเป็นการดูแลใบโดยเฉพาะ ซึ่งความหลากหลายส่วนนี้ทำให้เกษตรกรมีตัวเลือกเพิ่มขึ้น สามารถเลือกสูตรที่ตรงกับความต้องการได้เสมอ
  2. ปุ๋ยเคมีมาตรฐาน หมายถึง ปุ๋ยเคมีที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ทำการประกาศขึ้นทะเบียนไว้เรียบร้อยแล้ว ไม่จำเป็นต้องนำไปขึ้นทะเบียนซ้ำ ปัจจุบันมีทั้งหมด 7 ชนิดด้วยกัน คือ แอมโมเนียมซัลเฟต (21-0-0), ยูเรีย (46-0-0), ซูเปอร์ฟอสเฟต (0-20-0), ดับเบิ้ลซูเปอร์ฟอสเฟต (0-40-0), ทริเปิ้ลซูเปอร์ฟอสเฟต (0-46-0), โพแทสเซียมซัลเฟต (0-0-50) และโพแทสเซียมคอลไรด์ (0-0-60)
  3. ปุ๋ยเคมีธาตุอาหารรอง-เสริม หมายถึง ปุ๋ยเคมีที่อุดมไปด้วยแร่ธาตุในกลุ่มธาตุอาหารรอง คือ แมกนีเซียม (Mg), แคลเซียม (Ca) และกำมะถัน (S) และธาตุอาหารเสริมหรือ ธาตุที่พืชต้องการใช้ในปริมาณน้อย แต่ก็ขาดไม่ได้ โดยประกอบด้วยกันทั้งหมด 8 ธาตุ ได้แก่ เหล็ก (Fe) แมงกานีส (Mn) โบรอน (B) โมลิบดินัม (Mo) ทองแดง (Cu) สังกะสี (Zn) คลอรีน (Cl) และนิกเกิล (Ni)  ซึ่งปุ๋ยเคมีธาตุอาหารรอง-เสริม นี้ก็เป็นปุ๋ยเคมีอีกหนึ่งประเภทที่จำเป็นต้องขึ้นทะเบียนเช่นกัน

ปุ๋ยเคมีอันตรายหรือไม่กับเกษตรกร?

หากพูดถึงเรื่องความอันตรายก็สามารถสบายใจได้เลย เพราะในประเทศไทยปุ๋ยเคมีจำเป็นที่จะต้องทำการขึ้นทะเบียนเสียก่อน ถือว่าเป็นหนึ่งขั้นตอนในการคัดกรองปุ๋ยเคมีปลอมออกไป อย่างไรก็ตามถ้าหากมีการใช้ปุ๋ยเคมีที่มากจนเกินไป ก็จะไม่ส่งผลดีต่อพืชของคุณอย่างแน่นอน

เพราะฉะนั้นถ้าหากอยากได้ปุ๋ยเคมีที่ปลอดภัย ใช้แล้วเห็นผลผลิตเพิ่มขึ้นได้จริง เกษตรกรก็สามารถเข้ามาเลือกปุ๋ยเคมีสูตรต่าง ๆ ที่ เอเชียกรุ๊ป เกษตรภัณฑ์ได้เลย เพราะเราใส่ใจในการผลิต ดูแลทุกขั้นตอนภายใต้เงื่อนไข คุณภาพและคุณธรรม รับประกันทุกกระสอบ ไม่ว่าเกษตรกรจะต้องการบำรุงพืชในส่วนใด เราก็มีปุ๋ยเคมีหลากหลายสูตรเอาไว้ให้คุณเลือกซื้ออย่างครบครัน

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *